ศูนย์สนับสนุนบริการสุขภาพที่ 7

Health Service Support Center 7

th en zh-CN

กรม สบส. จัดอบรม อสส. รุ่น 2 สร้างครือข่ายสกัดภัยสุขภาพเชิงรุก

กรม สบส. จัดอบรม อสส. รุ่น 2 สร้างครือข่ายสกัดภัยสุขภาพเชิงรุก

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) กรุงเทพมหานคร รุ่น 2 ต่อยอดอาวุธทางปัญญา สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังเชิงรุก ร่วมเป็นหูเป็นตากับภาครัฐ พร้อมส่งต่อความรู้สู่ชุมชนประชาชนเกิดภูมิคุ้มกันภัยสุขภาพในระยะยาว วันนี้ (25 กรกฎาคม 2567) ณ อาคารกรม สบส. กระทรวงสาธารณสุข ดร.ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส.เป็นปรานเปิดการอบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่ายระบบเฝ้าระวังสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ สำหรับเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โดยมีเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร และบุคลากรสังกัดกรม สบส. จำนวน 165 คนเข้าร่วม ดร.ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรม สบส. กล่าวว่า ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งมุ่งให้ภาครัฐพัฒนากระบวนงานตามภารกิจเข้าสู่การเป็นภาครัฐดิจิทัล นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆอย่างมีประสิทธิผล มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อตรวจสอบและเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านบริการสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาการกระทำผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล เช่น คลินิกเถื่อน หมอเถื่อน หรือการลักลอบให้บริการเสริมความงามนอกสถานที่ของหมอกระเป๋า ฯลฯ ในกรุงเทพมหานคร ซึ่งปัจจุบันมีคลินิก 8,147 แห่ง โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 กรม สบส.ได้รับเรื่องร้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับสถานพยาบาล มากกว่า 400 เรื่อง โดยประเด็นเรื่องร้องเรียนสำคัญที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 ได้แก่ การตรวจสอบมาตรฐานของสถานพยาบาล การโฆษณาโอ้อวดเกินจริง ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลเถื่อน และหมอเถื่อน ดังนั้น การพัฒนามาตรการเฝ้าระวังเชิงรุก จึงถือเป็นกลไกสำคัญในการป้องปราม การกระทำผิด ซึ่งกรม สบส.เล็งเห็นถึงความสำคัญของเครือข่ายภาคประชาชนอย่างอาสาสมัครสาธารณสุข (อสส.) จึงกำหนดจัดการอบรมฯ ในวันนี้ขึ้น โดยเป็นการอบรม อสส. รุ่นที่ 2 เพื่อต่อยอดอาวุธทางปัญญาให้กับ อสส. ทั้ง 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ 17,000 คน ได้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ถึงบทบาทในการตรวจสอบ และเฝ้าระวังคลินิกในเขตกรุงเทพมหานคร เกิดการพัฒนาศักยภาพและขยายผลเครือข่ายการเฝ้าระวังเชิงรุก ให้สามารถเป็นหูเป็นตาร่วมกับภาครัฐในการเฝ้าระวัง คุ้มครองผู้บริโภคในด้านระบบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ “แม้กรม สบส.จะดำเนินงานเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ได้รับผลกระทบมาโดยตลอด แต่ด้วยกำลังของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว อาจจะไม่สามารถป้องปรามการกระทำผิดกฎหมายได้ทุกกรณี จึงต้องอาศัยความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ อสม.และ อสส.ซึ่งเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิด คุ้นเคยกับประชาชน และพื้นที่เป็นอย่างดี ร่วมส่งต่ออาวุธทางปัญญาที่ได้รับจากการอบรมฯ ไปสู่ประชาชนให้เข้าถึง เข้าใจต่อภัยอันตรายของคลินิกเถื่อน หมอเถื่อน หรือการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง จนเป็นภูมิคุ้มกันติดตัวประชาชนไปในระยะยาว” ดร.ทพ.อาคมฯ กล่าว
Skip to content
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.